บริการด้านวางระบบ
และตรวจสอบภายใน

เริ่มต้น 5,000 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

บริการด้าน
รับทำบัญชี – ยื่นภาษี

เริ่มต้น 1,500 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

บริการด้าน
ตรวจสอบบัญชี

เริ่มต้น 4,500 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม...

image01

วิธีการตรวจสอบบัญชีลูกหนี้

 
 

 

 Q&A สภาวิชาชีพบัญชี

การตัดหนี้สูญ :

          เนื่องจากกิจการต้องการตัดหนี้สูญจากเจ้าหนี้ 3 ราย รายละหนึ่งล้านถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท รวมยอดลูกหนี้ทั้งสิ้นประมาณสามล้านเจ็ดแสนบาท ซึ่งกิจการได้ตั้งยอดหนี้สูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตั้งแต่ พ.ศ. 2552 กิจการไม่เคยดำเนินการส่งฟ้องศาลเนื่องจากกิจการเล็งเห็นแล้วว่าจะไม่คุ้มค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องร้องและเนื่องจากในระหว่าง ปี 2558 กรมสรรพากรได้ออกพระราชกำหนดการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร  พ.ศ. 2558 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595 )  พ.ศ. 2558 ให้สิทธิแก่บริษัทในการได้รับยกเว้นการตรวจสอบทางภาษีและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้นกิจการจึงมีความต้องการที่จะตัดหนี้สูญยอดทั้งสามล้านเจ็ดแสนบาทนี้

นโยบายบัญชีที่สำคัญของกิจการ

1.         ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญกำหนดขึ้นโดยประมาณจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ การประมาณดังกล่าว อาศัยประสบการณ์ของบริษัทในการเก็บเงินจากลูกหนี้ ประกอบกับการพิจารณาฐานะการเงินของลูกหนี้ด้วย

          อยากสอบถามว่าในฐานะผู้ทำบัญชีของกิจการ เพื่อเป็นการตัดหนี้สูญนี้ จะเขียนหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างไร เช่น เขียนว่า ภาระผูกพันค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประมาณการหนี้สงสัยจะสูญ แสดงค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2552 กิจการไม่ได้ดำเนินการฟ้องศาลเนื่องจากเห็นว่าไม่คุ้มค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้อง และคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผลว่า สามารถหาข้อมูลได้ จึงนำมาใช้กับการจัดทำและการนำเสนองบการเงิน

(คำถามเดือนเมษายน 2559)

A:

โดยปกติ กิจการสามารถตัดหนี้สูญได้เมื่อกิจการพิจารณาว่าจะไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้รายดังกล่าวได้ค่อนข้างแน่นอน ดังที่ระบุในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ย่อหน้าที่ 83 ดังนี้

การตัดจำหน่ายหนี้สูญ

          83. หากลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้เมื่อครบกำหนดแล้ว และกิจการได้มีการดำเนินการทวงถามหนี้จากลูกหนี้ จนถึงที่สุดแล้ว และคาดหมายได้ค่อนข้างแน่นอนว่าจะไม่ได้รับชำระหนี้ ให้กิจการจำหน่ายลูกหนี้ ออกจากบัญชีและปรับลดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เกี่ยวข้อง

          ดังนั้น เรื่องของการดำเนินคดี เป็นเพียงเรื่องในทางกฎหมาย ซึ่งไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ของการตัดหนี้สูญ กิจการไม่จำเป็นต้อง(แต่มิได้ห้ามที่จะ)อ้างถึงการดำเนินคดีในทางกฎหมาย

          นอกจากนี้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะระบุในย่อหน้าที่  85 เกี่ยวกับการเปิดเผยลูกหนี้ดังนี้

          85 กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

                   85.1 มูลค่าหนี้สูญที่ตัดจำหน่ายระหว่างงวด

                   85.2 หนี้สูญได้รับคืนสำหรับงวด

                   85.3 จำนวนและรายละเอียดของลูกหนี้ที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน

          ดังนั้น กิจการต้องเปิดเผยรายละเอียดขั้นต่ำเกี่ยวกับหนี้สูญดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อกำหนดในย่อหน้าที่ 85 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กิจการเลือกใช้

          นอกจากนี้กิจการสามารถเลือกเปิดเผยข้อมูลทางการเงินได้มากกว่าที่มาตรฐานฯกำหนดตามความประสงค์ของกิจการเพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้งบการเงิน แต่ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิดในสาระสำคัญ

          ทั้งนี้ขอให้ท่านปรึกษาผู้สอบบัญชีของกิจการ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเข้าใจและมีข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดที่มากกว่า เนื่องจากผู้สอบบัญชีจะต้องเป็นผู้แสดงความเห็นต่อรายงานทางการเงินที่ท่านจัดทำขึ้นดังกล่าว

ข้อมูลสภาวิชาชีพบัญชี

 

 

แนะนำบทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมต้องมีผู้สอบบัญชี(CPA) มาตรวจสอบงบการเงินของกิจการhttps://www.amtaudit.com/view_news.php?id=17

ความสำคัญของการสอบบัญชี https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=8

อายุเยอะแล้วสอบ CPA  https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=25

เส้นทางเด็กบัญชีสู่ CPA https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=18

 

โดยทีมงาน AMTaudit & AMTsolution
บริการ รับตรวจสอบบัญชี และ บริการ รับตรวจสอบภายใน

(Audit & Assurance Services)
Office : 02-309-3550 and 02-184-1846
fax : 02-115-1486 
ID Line : @amtaudit